ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: เช็กให้ชัวร์ ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไรบ้าง  (อ่าน 315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ abbeygk

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 153
    • ดูรายละเอียด


หนึ่งในสิ่งที่ผู้ป่วย “โรคต่อมไทรอยด์” มักจะมีความกังวลคือเรื่องการรับประทานอาหาร ว่าจะมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติหรือไม่  และจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานผิดปกติไปด้วย จนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย วันนี้เรามาเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ปลอดภัยจากภาวะไทรอยด์ผิดปกติ เป็นโรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ชวนทำความรู้จัก โรคต่อมไทรอยด์ คืออะไร ?
“โรคไทรอยด์” เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ “ต่อมไทรอยด์” ซึ่งมีลักษณะเหมือนรูปปีกผีเสื้ออยู่บริเวณหน้าลำคอของเรา มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญและอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมาก หรือน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ให้ผิดปกติตามไปด้วย โดยอาการที่พบจะขึ้นอยู่กับชนิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร?
อาการของต่อมไทรอยด์ผิดปกติมักจะสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน หลายคนจึงเกิดความกังวลและไม่ทราบว่าควรจะรับประทานอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย การหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้จะช่วยปรับสมดุลร่างกายและช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้นได้ มาดูกันว่า โรคไทรอยด์ห้ามกินอะไร

1. เครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษแนะนำให้หยุดเครื่องดื่มประเภทนี้ เนื่องจากจะส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีอาการใจสั่นจนอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
2. พริกชนิดเผ็ด
เพราะอาหารประเภทนี้จะไปเพิ่มการเมตาบอลิซึม ทำให้มีอาการใจสั่น หายใจติดขัด
3. พืชผักกลุ่ม Cruciferae ที่มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen)
ผักจำพวกบลอกโคลี กะหล่ำดอก ผักโขม คะน้า กะหล่ำปลีดิบ ทูนิป ฮอร์สแรดิช และเมล็ดพันธุ์ผักกาดชนิดต่างๆ หากได้รับสารกอยโตรเจนจากพืชผักเหล่านี้มากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากสารกอยโตรเจนจะเข้าไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ แล้วสร้างฮอร์โมนไทรอกซินขึ้นมาจนทำให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษ และกลายเป็นโรคคอพอกได้
4. พืชผักที่มีสารขับน้ำออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญมากขึ้น ทำให้มีอาการเหงื่อออกง่ายและสูญเสียน้ำมาก ยิ่งรับประทานหน่อไม้ฝรั่ง สาหร่าย ผักกาด หรือหน่อไม้ ที่มีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย จะทำให้ระบบเมตาบอลิซึมต้องทำงานหนักมากขึ้น
5. อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
ผู้ป่วยไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้จะไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ และการดูดซึมยาของผู้ป่วยไทรอยด์ อีกทั้งน้ำตาลยังมีผลต่อระบบเมตาบอลิซึม หรือระบบเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานได้ช้าลง

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยไทรอยด์ ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เมื่อรู้ว่าป่วยเป็นโรคไทรอยด์หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ นอกจากให้ความสำคัญและเคร่งครัดเรื่องการควบคุมอาหารแล้ว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งยารักษาโรคไทรอยด์นั้นจะไม่ได้ผลหากไม่มีการปรับ ดังนั้นยาที่ใช้อยู่จะมีการปรับโดยแพทย์ประจำตัวอยู่เสมอ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการผิดปกติและควรรู้วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นดังนี้
* หากพบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากการเป็นไทรอยด์ เช่น อาการซึมเศร้า มีความตื่นเต้นมากเกินไป ไม่ค่อยมีสมาธิ สามารถพาผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ หรือออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดลงได้
* พักผ่อนให้เพียงพอและควบคุมการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างถูกต้อง
* ไม่ดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่
* หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรหรือการซื้อยารับประทานเอง
* ติดตามอาการกับแพทย์ประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ


หมายเหตุ : หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นโรคไทรอยด์แล้วต้องการมีลูก จำเป็นต้องรักษาให้หายดีก่อนตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไทรอยด์ควรให้ความสำคัญกับการใส่ใจดูแลในเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างยิ่ง หลีกเลี่ยงอาหารที่กล่าวไปเบื้องต้น และเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ รับประทานข้าวสลับกับแป้งในปริมาณที่เหมาะสม เน้นการกินผักผลไม้เป็นประจำ รวมถึงควบคุมดูแลน้ำหนักตัวให้เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ เพียงเท่านี้ผู้ป่วยไทรอยด์ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในทุกๆ วัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 3  โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07.00-19.00 น. โทร. 0-2079-0070
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์