ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม  (อ่าน 17 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ veerachai29

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,993
    • ดูรายละเอียด

ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม เกี่ยวกับ ขมิ้นชัน



สนับสนุนเนื้อหา





เรื่องสุขภาพใครว่าไม่สำคัญ นอกจากที่การออกกำลังกายนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ดูสุขภาพดีแล้ว เรื่องของอาหารการกินก็สำคัญ ไม่ใช่เพียงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือผัก แต่สมุนไพรไทยหลายๆ ชนิดก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้รสชาติเหมือนผัก แต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย อย่าง ขมิ้นชัน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่นิยมเอามาประกอบอาหาร โดยเฉพาะในอาหารใต้ ด้วยสีสันที่เป็นสีเหลืองสดสะดุดตา จึงทำให้อาหารดูมีความน่าทาน แต่ยังคงประโยชน์ไว้ได้อย่างครบถ้วน วันนี้ Sanook! Health จะพาไปทำความรู้จักกับเจ้าขมิ้นชันให้มากขึ้น
 
ขมิ้นชัน จัดอยู่ในประเภทเดียวกับ ขิง
ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน นั้นจัดว่าเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะมีสีเหลืองเข้ม ไปจนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ถิ่นกำเนิดจะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกในแบบอื่นๆ อีกมาก อาทิ ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ทั้งนี้ การเรียกก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่ขมิ้นชันจะนิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหารเพื่อแต่งสี แต่งกลิ่นอาหารให้มีความน่าทาน อาทิ แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น
 iStock
ภายในสีเหลืองเข้มของ ขมิ้นชัน นั้นเต็มไปด้วยประโยชน์
ขมิ้นชัน นั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ , วิตามินบี 1 , วิตามินบี 2 , วิตามินบี 3 , วิตามินซี , วิตามินอี , ธาตุแคลเซียม , ธาตุฟอสฟอรัส , ธาตุเหล็ก , เกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย , คาร์โบไฮเดรต  และโปรตีน ในขณะเดียวกัน ขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาอาการและบรรเทาโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิดจากการที่ได้ค้นพบประวัติในการนำมาใช้รักษามากกว่า 5,000 ปี
 
บริโภค ขมิ้นชัน นั้นไม่ยาก
สำหรับการเก็บเกี่ยวขมิ้นชันเพื่อนำมาบริโภคนั้นไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เนื่องจากจะทำให้สารที่ประโยชน์ อย่าง เคอร์คูมิน ที่อยู่ในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าขมิ้นชันที่เกี่ยวมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9 - 12 เดือน และเมื่อเก็บมาแล้วต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป อีกทั้งต้องเก็บไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน
เมื่อเก็บได้เหง้าขมิ้นชันมาแล้ว หากต้องการนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรค หรืออาการต่างๆ ควรล้างให้สะอาดและไม่ต้องปอกเปลือก จากนั้นให้หั่นเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปตากแดดประมาณ 2 วัน จึงนำกลับมาบดให้ละเอียด นำไปผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ เท่ากับปลายนิ้วก้อย จากนั้นจึงนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 - 3 เม็ด ช่วงหลังอาหารและก่อนนอน
อีกวิธีหนึ่ง คือ การนำเหง้าขมิ้นชันแก่มาขูดเอาเปลือกออก แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำขมิ้นมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง แต่หากจะนำขมิ้นชันมาใช้เป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเอาเหง้าขมิ้นชันมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นชันมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน
 iStock


 
บริโภค ‘ขมิ้นชัน’ อย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด
จากการศึกษาข้อมูลบางอย่างของ ‘ขมิ้นขัน’ พบว่า หากเรารับประทานขมิ้นชันไปตามเวลาที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปิด หรือเริ่มทำงาน ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น เราจึงได้นำข้อมูลส่วนนี้มาบอกเพิ่ม จะได้ลองนำเอาไปใช้กัน

  • 03.00 - 05.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘ปอด’ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเกิดมะเร็งปอด ซ่อมเสริมทำให้ปอดแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังอีกด้วย
  • 05.00 - 07.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘ลำไส้ใหญ่’ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่เกิดกับลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากใครเคยรับประทานยาถ่ายมาเป็นเวลานานแนะนำว่าให้ทานขมิ้นชันในช่วงนี้ เพราะตัวขมิ้นชันจะเข้าไปฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่เน้นว่าต้องรับประทานเป็นประจำจึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวช่วยในการขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ
  • 07.00 - 09.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘กระเพาะอาหาร’ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะช่วยแก้ปัญหาโรคกระเพาะที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รวมถึงยังช่วยลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดหัวเข่า ขาตึง อีกทั้งยังช่วยบำรุงสมองและป้องกันอาการความจำเสื่อมอีกด้วย
  • 09.00 - 11.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘ม้าม’ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาน้ำเหลืองเสีย การมีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไปซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของม้าม นอกจากนี้ก็ยังเข้าไปช่วยลดอาการของโรคเกาต์ ลดอาการของเบาวานได้
  • 11.00 - 13.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘หัวใจ’ การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้จะเข้าไปช่วยผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ขมิ้นชันจะเข้าไปช่วยบำรุงให้หัวใจแข็งแรง หากรับประทานเกินเวลา 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชั้นก็จะไปออกฤทธิ์ทำงานที่ตับและส่งมาที่ปอดแทน จากนั้นปอดก็จะส่งไปที่ผิวหนัง แต่โดยมากหากขมิ้นชันที่บริโภคมีปริมาณน้อยเกินไป ระหว่างทางที่ส่งอวัยวะต่างๆ ก็จะดึงไปใช้ทำให้ไปไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องมีการทาขมิ้นชันเพิ่มบนผิวหนังอีกทีหนึ่ง
  • 15.00 - 17.00 น. : ช่วงเวลานี้เป็นเวลาของ ‘กระเพาะปัสสาวะ’ การรับประทานขมิ้นชันในเวลานี้จะเข้าไปช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาตกขาวในสตรีได้ อีกทั้งแนะนำว่าให้ดื่มน้ำกระชายในเวลานี้ด้วย เพราะจะช่วยทำให้หูรูดกระเพาะปัสสาวะของเราแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลานี้


    เพิ่มเติม หากเรารับประทานขมิ้นชันเลยจากช่วงเวลาที่บอกไปจนถึงเวลานอน ก็จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าก็จะทำให้ไม่อ่อนเพลยได้ง่าย รวมถึงช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
    ขมิ้นชัน ถึงเป็นสมุนไพร แต่ก็มีผลข้างเคียง
    การที่นำเอาขมิ้นชันมาบริโภคเพื่อรักษาอาการ หรือโรคใดก็ตาม หากรับประทานไปเรื่อยๆ จนหายแล้วก็ควรหยุดทาน ถึงแม้ว่าขมิ้นชันนั้นจะมีประโยชน์มาก แต่หากร่างกายได้รับมากจนเกินความต้องการก็อาจกลายเป็นโทษ ทำให้เกิดการแพ้ได้ เช่น ปวดหัว , ท้องเสีย , คลื่นไส้ , นอนไม่หลับ ฉะนั้น หากรับประทานเข้าไปแล้วมีอาการดังกล่าวแนะนำว่าควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นมารับประทานแทน อีกทั้ง ในแถบภาคใต้ยังมีความเชื่อในเรื่องโทษและขมิ้นชันของขมิ้นชันกันว่า การรับประทานขมิ้นชันที่มากและถี่เกินไป แทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ก็อาจจะกลายเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเสียเอง
     
    อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับประทานขมิ้นชันนั้นแทบไม่ได้มีความแตกต่างจากการข้างเคียงทั่วไป อย่าง ท้องเสีย ปวดท้อง หรือนอนไม่หลับ เราควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองให้ชัด เพราะอาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่น หรือภาวะของโรคอื่นที่เป็นอยู่เกิดร่วมด้วยกันเป็นได้ แต่ถ้าการรับประทานยาก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหา เพิ่งจะมาแสดงอาการหลายหลังจากที่รับประทานขมิ้นชันเข้าไปแล้ว ก็ให้สงสัยเอาไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นผลข้างเขียงของขมิ้น โดยที่ยังสามารถรับประทานซ้ำได้ แล้วค่อยๆ ปรับขนาดยาจาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วให้ดื่มน้ำตามมากๆ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็อาจกลับมาเป็นปกติ
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sanook.com/health/8537/



    คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรดไหลย้อน

    Tags :  ลดความอ้วน