ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: งูสวัด โรคผิวหนังที่รักษาได้ง่ายๆ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของไทย  (อ่าน 60 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ skyzy.z88

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,095
    • ดูรายละเอียด

งูสวัด โรคผิวหนังที่รักษาได้ง่ายๆ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของไทย เกี่ยวกับ งูสวัด



สนับสนุนเนื้อหา





ไม่ว่าจะผ่านไปในฤดูไหนๆ ของประเทศไทย ไม่ว่าจะหนาว ร้อน ฝน โรคภัยไข้เจ็บต่างก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
อย่างความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดหนึ่งที่ Sanook! Health นำมาฝากกันวันนี้ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกช่วงเวลา ไม่จำกัดว่าเป็นฤดูไหน เรารู้จักกันดีในชื่อ "โรคงูสวัด" ที่ถึงแม้ว่าจะยังไม่เป็นโรคที่ถูกพูดถึงในวงกว้างมากนักในบ้านเรา แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราควรหันมาดูแลสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้
โรคงูสวัด หรือชื่อในภาษาอังกฤษ คือ Herpes  Zoster จัดว่าเป็นโรคผิวหนังประเภทหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส คือ Varicella Zoster Virus หรือ VZV
ซึ่งเมื่อเป็นอีสุกอีใสแล้วเชื้อไวรัสจะทำการซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาทต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เกิดความเครียด นอนพลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา อดหลับอดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็จะทำการเพิ่มจำนวนส่งผลให้เกิดตุ่มพองใสจนกลายเป็นโรคงูสวัดนั่นเอง
โดยส่วนใหญ่พบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ในประเทศไทย พบมากในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักเกิดบริเวณผิวหนังตามร่างกาย มีลักษณะเป็นผื่น หรือตุ่มตามยาว แต่โดยปกติแล้วจะขึ้นบริเวณบั้นเอว หรือแนวชายโครง ในบางคนอาจขึ้นที่ใบหน้า แขน หรือขา มีลักษณะที่คล้ายกันอยู่หนึ่งอย่าง คือ จะขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น
โรคงูสวัด
โรคงูสวัด
โรคงูสวัดไม่มีอันตรายร้ายแรงและหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในผู้ป่วยบางคนหลังจากที่แผลหายแล้วอาจมีการปวดตามเส้นประสาทเป็นเวลานาน หรืออาจะเกิดภาวะแทรกซ้อมตามมาได้
ส่วนผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคงูสวัดแล้วเกิดการเสียชีวิต นั่นอาจมีสาเหตุมากจากว่าร่างกายผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอและขาดภูมต้านทานโรคที่แข็งแรง สามารถแบ่งการระยะของโรคงูสวัดออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะเริ่มต้น: ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและแสบร้อนตามผิวหนังโดยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ในระยะนี้จะเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานของร่างกายที่ลดต่ำลง         


  • ระยะที่ 2: ระยะเวลาผ่านไปได้ 2 - 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ เรียงกันเป็นกลุ่ม เป็นแนวยาวไปตามกลุ่มของเส้นประสาทในร่างกาย อาทิ ตามแขน ขา แผ่นหลัง หรือรอบๆ เอว


  • ระยะที่ 3: ต่อมาหลังจากที่แผลเกิดการตกสะเก็ด แห้ง และหายดีแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะยังมีอาการปวดและแสบร้อนตามรอยแนวของแผลอยู่ ในผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของภูมิต้านทานโรคในแต่ละบุคคล

    โรคงูสวัดสามารถติดต่อกันได้ง่ายด้วยการสัมผัส ระยะที่ติดต่อเป็นระยะที่มีผื่น ตุ่มน้ำใส และระยะตกสะเก็ด ส่วนในรายที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากไปสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด หากไปสัมผัส บุคคลนั้นก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน
    โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

    โรคงูสวัด เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยมีความแตกต่างอยู่ที่อีสุกอีใสนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่งูสวัดจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น เมื่อเชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายจนเกิดเป็นอีสุกอีใสแล้ว เชื้อดังกล่าวก็จะเข้าไปหลบตามปมประสาท ทำให้กลายเป็นโรคงูสวัดได้ในภายหลัง กลุ่มผู้ป่วยงูสวัดที่พบมักจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่ใช้การรักษาด้วยยาบางชนิด อย่าง สเตียรอยด์ ตลอดจนผู้ที่อยู่ในช่วงการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีวิทยา หรือเคมีบำบัด  เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าคนปกติ จึงทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
    การรักษาโรคงูสวัด

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีอาการงูสวัดขึ้นที่บริเวณใบหน้า หรือมีอาการปวดอย่างรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานภายใน 2 - 3 วันหลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรงและช่วยให้หายได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอาการปวดแสบ ปวดร้อนภายหลังได้อีกด้วย
  • สำหรับผู้ฝ่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ หรือโรคชนิดที่สามารถแพร่กระจายไปทั้งตัวได้ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และต้องรักษาตัวภายในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคงูสวัดขึ้นตา ควรทำการรักษากับจักษุแพทย์ จะมีการให้ยาต้านไวรัสชนิดทานและหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา


ยาโดยปกติที่แพทย์ให้ไปสำหรับการรักษาอาการป่วยจากโรคงูสวัดนั้นจะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่ทำได้เพียงทำให้การอักเสบลดลงเท่านั้น โดยเชื้อไวรัสจะกลับไปฝังตัวอยู่ที่ปมประสาทเช่นเดิม หากร่างกายมีสภาวะที่อ่อนแอก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ ซึ่งระยะหวังผลการรักษาจะอยู่ที่ 3 วันเท่านั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หากมีการตรวจพบแต่เนิ่นๆ ในบริเวณที่เจ็บนั้นมีตุ่มพองขึ้นด้วยในบริเวณเดียวกัน ผู้ป่วยต้องรีบเดินทางไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งตรวจพบเจอเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถใช้ยาต้านทานไวรัสให้ได้ผลได้ อีกทั้งอาการเจ็บแสบหลังเกิดโรคนั้นก็จะยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก
รักษาโรคงูสวัดด้วย “เสลดพังพอน”
นอกจากการดูแลรักษาโรคงูสวัดด้วยตนเอง รวมถึงเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบและบรรเทาอาการแล้ว ก็ยังได้มีการนำเอาสมุนไพรเข้ามาช่วยรักษาโรคงูสวัดกันอย่างแพร่หลาย อย่างการใช้ใบเสลดพังพอน
วิธีการก็ง่ายๆ เพียงนำใบเสลดพังพอนสดๆ 15 - 30 ใบตำให้แหลก แล้วผสมเข้ากับเหล้าโรง 28 ดีกรี ใช้พอกตามตุ่มของโรคงูสวัดให้ทั่ววันละ 2 - 3 ครั้งติดต่อกันเป็นประจำ ต่อมาให้ใช้ใบสดของเสลดพังพอนประมาณ 15 -20 ใบเช่นกัน ตำให้แหลกแล้วผสมเข้ากับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งถ้วยชา ดื่มเป็นประจำวันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเพื่อเป็นการขับพิษ
 
หรือจะนำใบเสลดพังพอสด 10 - 15 ใบนำมาล้างให้สะอาดใส่ลงในครกตำยาตำให้ละเอียด จากนั้นตักลงภาชนะที่สะอาดและเติมเหล้าขาว หรือแอลกอฮอล์ให้พอท่วม ปิดฝาให้มิดชิด ตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน
เมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้กรองเอากากออกและเก็บน้ำใส่ภาชนะที่สะอาด วิธีใช้ให้นำน้ำยามาทาบริเวณที่ปวดบวม หรือใช้กากพอกลงบนตุ่มที่เกิดโรคงูสวัดร่วม หากต้องการใช้เป็นยาภายนอกเพื่อรักษาโรคงูสวัดให้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 4 - 5 ครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด

  • หากผู้ป่วยมีการแกะ เกา หรือดูแลผื่นไม่ถูกต้อง อาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ทำให้แผลหายช้า และอาจะเกิดเป็นแผลลุกลามเพิ่มเติมได้
  • ในรายที่มีภาวะงูสวัดขึ้นตา อาจทำให้บริเวณกระจกตาเกิดการอักเสบได้ รวมถึงเกิดต้อหิน ประสาทตาอักเสบที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น
  • ในรายที่มีเป็นงูสวัดบริเวณหู อาจทำให้เกิดการอัมพาตครึ่งซีกหน้าได้ นอกจากนั้นยังมีอาการบ้านหมุน อาเจียน ตากระตุกเพิ่มด้วย
  • ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคงูสวัดอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หรือเข้าสู่สทอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • ในผู้ป่วยงูสวัดที่เป็นสตรีมีครรภ์ เชื้อไวรัสอาจจะสามารถแพร่กระจายไปยังทารกได้ ก่อให้เกิดความผิดปกติ อาทิ มีแผลเป็นตามตัว แขน ขาลีบ ศีรษะเล็ก อีกทั้งมีปัญหาทางสมองได้


สำหรับวิธีการป้องกันโรคงูสวัดไม่ให้เกิดขึ้นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ในบางรายอาจใช้การฉีดวัคซีนป้องกันได้
โรคงูสวัด
การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

  • ในระยะที่เป็นตุ่มน้ำใส ให้รักษาแผลให้ดี โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริค 3% ปิดประคบไว้ประมาณ 5 - 10 นาที แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ ทำเช่นนี้วันละ 3 - 4 ครั้ง
  • ในระยะที่ตุ่มน้ำแตก มีน้ำเหลืองไหล ต้องระมัดระวังการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
  • หากมีอาการปวดแผลมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
  • ผู้ป่วยไม่ควรใช้เล็บแกะ หรือเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้จนกลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้าและอาจกลายเป็นแผลเป็นได้
  • สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง ไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษ
  • ผู้ป่วยไม่ควรเป่า หรือพ่นยาลงบนแผล เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นในที่สุดได้
15 สมุนไพรไทย ที่ใช้รักษาโรคงูสวัด
เสลดพังพอนไม่ได้เป็นสมุนไพรเพียงชนิดเดียวที่ช่วยบรรเทาและรักษาโรคงูสวัดได้ แต่ยังมีสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกมากที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดได้เป็นอย่างดี วันนี้เรามี 20 สมุนไพรรักษาโรคงูสวัดมาฝากกัน ดูกันสิว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถรักษาโรคนี้ได้บ้าง

  • กระชับ ใช้ส่วนใบเป็นยาแก้พิษงูสวัด ซึ่งตามข้อมูลไม่ได้ระบุวิธีใช้เอาไว้
  • กระแตไต่ไม้ ใช้เหง้านำมาฝนทาแก้งูสวัด
  • กระพังโหม มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรชนิดนี้ใช้รักษาโรคงูสวัดได้ แต่ไม่ระบุส่วนที่ใช้เอาไว้
  • ก้างปลาเครือ รากมีสรรพคุณเป็นยาขับพิษ ใช้ฝาทาแก้งูสวัดได้
  • กำจัดดอย ตามข้อมูลระบุว่า นอกจากจะใช้เมล็ดกำจัดดอยเป็นยาแก้อีสุกอีใสได้แล้ว ยังสามารถใช้รักษาโรคเริมและงูสวัดได้ด้วย
  • เขยตาย ใช้ส่วนของใบเขยตายนำมาขยี้ หรือบดผสมกับเหล้าขาว หรือแอลกอฮอล์ หรือน้ำมะนาว เป็นยาทารักษาโรคงูสวัด
  • จักรนารายณ์ วิธีใช้คือนำส่วนใบมาตำกับน้ำตาลทรายแแดงเพื่อให้จับตัวกันเป็นก้อนๆ และไม่หลุดได้ง่าย จากนั้นนำมาพอกตรงแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือจะนำเอาใบมาคั้นเอาเฉพาะน้ำทาสดๆ หรือใช้ตำแล้วพอกเลยก็สามารถทำได้
  • ชุมเห็ดไทย ให้ใช้รากสดๆ นำมาบดผสมกับน้ำมะนาวใช้รักษาโรคงูสวัด
  • ตะขาบหิน ใช้ทั้งต้นเป็นยาทาภายนอก แก้โรคงูสวัด
  • ตำลึง ใช้ใบสดๆ ประมาณ 2 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาผสมกับพิมเสน หรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นงูสวัด
  • เทียนบ้าน ใช้ต้นสดนำมาตำแล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำดื่มเป็นยา ส่วนกากเหลือให้เอามาบริเวณที่เป็นงูสวัด
  • น้อยหน่า ผลแห้ง มีสรรพคุณเป็นยาแก้งูสวัด ตามข้อมูลไม่ได้มีการระบุวิธีใช้เอาไว้
  • นางแย้ม นำรากมาฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด
  • น้ำเต้า ใช้ใบน้ำเต้าสดๆ นำมาโขลกผสมกับเหล้าขาว หรือโขลกแล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำ หรือใช้ใบสดผสมกับขี้วัวแห้ง หรือขี้วัวสด แล้วโขลกให้เข้ากันจนได้ที่ ผสมกับเหล้าขาว 40 ดีกรีลงไป ซึ่งหากดูตามข้อมูลอาจเข้าใจได้ว่าในขี้วัวมีส่วนผสมของแอมโมเนีย จึงทำให้เย็นและช่วยถอนพิษอักเสบได้ดีกว่ายาตัวอื่น สำหรับใบน้ำเต้าใช้เป็นยาถอนพิษร้อน ดับพิษ แก้อาการฟกช้ำ บวม พุพอง แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน รักษาอาการพองตามผิวหนัง ตามร่างกาย แก้เริม รวมถึงใช้รักษาโรคงูสวัดได้ดี
  • น้ำนมราชสีห์เล็ก ใช่ส่วนต้นนำมาทำเป็นยาแก้งูสวัดที่ขึ้นรอบเอว โดยใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ และกระเทียม 1 หัว นำมาตำให้ละเอียด จากนั้นผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ใช้ทาบริเวณที่เป็นตุ่มงูสวัด

    นี่ก็เป็นเรื่องราวความรู้ดีๆ ของโรคงูสวัด ที่ Sanook! Health นำมาฝาก หวังว่าจะช่วยเป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันที่ทำให้เราหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น พยายามทำตามคำแนะนำจะดีที่สุด ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้โรคงูสวัดก็จะไม่มากวนใจเราอีกต่อไป
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sanook.com/health/3797/



    คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : โรคซึมเศร้า

    Tags : สุขภาพ, ลดความอ้วน, ยารักษาโรค